แคสเปอร์สกี้ แลป แนะวิธีดูแลสัตว์เลี้ยงยุคดิจิทัลให้ปลอดภัย

แคสเปอร์สกี้ แลป ร่วมกับบริษัทวิจัย Opeepl สำรวจเจ้าของสัตว์เลี้ยงในครัวเรือนจำนวน 7,740 คน ใน 15 ประเทศทั่วโลก* เพื่อศึกษาผลกระทบของเทคโนโลยีต่อความปลอดภัยของสัตวเลี้ยง ปรากฏว่าเจ้าของสัตว์เลี้ยงในบ้าน ทุกๆ หนึ่งในห้าคนจะใช้อุปกรณ์ดิจิทัลเพื่อคอยสอดส่อง หรือเพื่อดูแลความปลอดภัยสัตว์เลี้ยงของตน และพบว่าผู้ที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้จำนวน 39% กลับก่อความเสี่ยงต่อสัตว์เลี้ยง หรือต่อผู้เป็นเจ้าของเสียเอง

 

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แคสเปอร์สกี้ แลป ได้เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับจุดบอดในอุปกรณ์ติดตามหมาแมวที่ผู้ร้ายไซเบอร์สามารถใช้เป็นช่องลักลอบขโมยข้อมูลที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้เป็นเจ้าของก็ได้ ในการวิจัยล่าสุดพบว่าเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของหมาแมวนั้นมีมากกว่าเครื่องติดตามตัว (trackers) อุปกรณ์ที่ถูกพูดถึงในหมู่ผู้เข้าร่วมการสำรวจมากที่สุดคือ เว็บแคมสำหรับดูพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตที่มีเกมให้สัตว์เลี้ยงเล่น ของเล่นดิจิทัล ฟีดเดอร์ให้อาหารอัตโนมัติ/ตู้กินน้ำ และอื่นๆ มากมาย

 

อย่างไรก็ตาม อะไรเป็นตัวรับรองว่าตัวควบคุมอุณหภูมิจะไม่ทำงานบกพร่องจนน้ำในตู้ปลาร้อนเกินไป หรือเครื่องให้อาหารอัตโนมัติที่ไม่ตอบสนองต่อคำสั่งจะไม่ปล่อยให้แมวหิวโหย เป็นต้น กรณีเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่น่าเศร้าและทรมานทั้งต่อสัตว์เลี้ยงและเจ้าของ จากการสำรวจข้อมูล พบตัวอย่างว่า จำนวนอุปกรณ์ที่ใช้กับสัตว์เลี้ยงจำนวนครึ่งหนึ่งนั้นต่อเชื่อมกับอินเทอร์เน็ตได้ ย่อมเป็นช่องทางที่ผู้ร้ายไซเบอร์ใช้ได้เช่นกัน ผู้เข้าสำรวจ 14% เผยว่าอุปกรณ์ของพวกเขาเคยถูกแฮกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ปัญหาอื่นที่เคยประสบ ได้แก่ อุปกรณ์หยุดทำงานหรือเริ่มมีอาการผิดปกติ ซึ่งผู้เข้าร่วมสำรวจส่วนใหญ่แจ้งว่าเป็นความเสี่ยงถึงชีวิตของสัตว์เลี้ยง (32%) สุขภาพ (32%) สุขภาพจิตของสัตว์เลี้ยง (23%) และแม้แต่สุขภาพจิตของเจ้าของเอง (19%)

 

เดวิด เอมม์ นักวิจัยด้านความปลอดภัยอาวุโส แคสเปอร์สกี้ แลป กล่าวว่า “เทคโนโลยีช่วยให้ชีวิตของเรารวมทั้งสัตว์เลี้ยงเพื่อนรักขนปุยของเราสะดวกสบายขึ้น เทคโนโลยีอาจนำมาใช้ป้องกันสัตว์เลี้ยงให้ปลอดภัย ดูแลและทำให้สัตว์เลี้ยงสบายตัวได้ แต่ก็มีความเสี่ยงในการใช้งานเช่นเดียวกับอุปกรณ์ดิจิทัลทั่วไป ที่มีข้อบกพร่อง เสียพัง รวน หรือถูกแฮกได้ทั้งนั้น เพื่อเลี่ยงผลอันไม่เป็นที่พึงประสงค์ จึงต้องมีมาตรการเพื่อความปลอดภัยแบบง่ายๆ และมีแผนสำรองกรณีที่อุปกรณ์ชำรุด ทำงานบกพร่อง หรือโดนแฮก และแน่นอนว่า จะจำเป็นต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ดิจิทัลอย่างรอบคอบระมัดระวัง เน้นสวัสดิภาพความปลอดภัยของสัตว์เลี้ยงอันเป็นที่รักของคุณและครอบครัว”

 

ผู้เชี่ยวชาญจากแคสเปอร์สกี้ แลป แนะนำข้อปฏิบัติง่ายๆ เพื่อให้แน่ใจว่าสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณจะปลอดภัย ดังนี้

  • หากคุณเป็นเจ้าของสมาร์ทโฮม คุณควรจัดการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อการดูแลสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในบ้านของคุณ เช่นตัวอย่างในวิดีโอของพนักงานของแคสเปอร์สกี้ แลป ที่ดูแลสัตว์เลี้ยงที่อาศัยในสมาร์ทโฮมด้วยกัน (ดูวิดีโอที่นี่)
  • ก่อนตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ใช้งาน ควรให้ความสนใจเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อบกพร่องช่องโหว่ต่างๆ ได้ทางออนไลน์ ซึ่งหาได้ไม่ยาก เนื่องจากส่วนมากจะได้รับการทดสอบวิจัยมาก่อนที่จะวางตลาด ดังนั้ จึงไม่น่าจะยากที่จะตรวจสอบว่าข้อบกพร่องที่มีนั้นได้รับการแก้ไขแล้วหรือยัง ทางเลือกที่ดีที่สุด คือซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีการอัพเดทมาแล้วหลายครั้ง
  • ก่อนเริ่มต้นใช้งาน ควรเปลี่ยนพาสเวิร์ดที่ติดมากับอุปกรณ์ให้เป็นพาสเวิร์ดที่แข็งแกร่งและซับซ้อน
  • ไม่ควรให้คนนอกแอคเซสเข้าอุปกรณ์ เว้นเสียแต่ว่ามีความจำเป็นเฉพาะด้านเท่านั้น
  • ปลดการต่อเชื่อมทุกประเภทที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอุปกรณ์นั้น
  • หมั่นอัพเดทเฟิร์มแวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดอยู่เสมอ
  • แคสเปอร์สกี้ แลป ได้ออกโซลูชั่นสำหรับการใช้งานสมาร์ทโฮมและอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ เพื่อการป้องกันอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ คือ “Kaspersky IoT Scanner” ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย บนแอนดรอยด์แพลตฟอร์ม ทำการสแกนเน็ตเวิร์ก Wi-Fi รายงานอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมกันอยู่ และระดับของความปลอดภัย

 

*งานวิจัยทางออนไลน์นี้ทำการสำรวจเจ้าของสัตว์เลี้ยงที่ใช้สมาร์ทโฟนอย่างน้อยที่สุดจำนวนหนึ่งเครื่อง ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน พ.ศ. 2561 ในประเทศสิงคโปร์ ออสเตรเลีย อินเดีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก โคลัมเบีย อิตาลี เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส เบลเยี่ยม ตุรกี และรัสเซีย

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • รายงานเรื่อง I know where your pet is

https://securelist.com/i-know-where-your-pet-is/85600/

  • วิดีโอเรื่อง Can software keep your pets safe?

https://www.youtube.com/watch?v=-fh4RhzB3Eg