ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

รีวิว ศูนย์วัฒนธรรมไทยจีนและศาลเจ้าปู่ย่า อุดรธานี

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน จังหวัดอุดรธานี ศูนย์รวมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม วิถีบรรพชนและหลักปรัชญาของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุดรธานี

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน
ซุ้มทางเข้าศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน จังหวัดอุดรธานี

เดินเข้าไปข้างในจะพบต้นคูณที่มีดอกสีชมพูสวยงาม

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน
ดอกคูณสีชมพู
ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน
ดอกคูณสีชมพู
ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน
ดอกคูณสีชมพู

ภายในมีการจัดสวนได้อย่างร่มรื่นสวยงามศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีนศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

มีการออกแบบตกแต่งสวน แบบในแนวสวนจีนที่มีความวิจิตรตระการตาภายใต้ชื่อ

“สวนคุณธรรมพันปี 24 กตัญญู”

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน
สวนคุณธรรมพันปี 24 กตัญญู

ภายในสวนตกแต่งด้วยไม้มงคลของจีนได้แก่ ต้นเครามังกร ต้นหลิว ต้นไผดำ ประทัดจีน หงส์ฟู่ บิโกเนีย โป๊ยเซียน พุด เทียนหอม ที่รายล้อมสระบัว และบ่อปลาคาร์ฟจักรพรรดิ์

มีกิจกรรมให้ป้อนนมและอาหารปลาคราฟด้วย

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน
ป้อนนมและอาหาร ปลาคราฟ
ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน
ปลาคราฟ

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีนศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

นอกจากสวนที่สวยงามยังมี อาคารพิพิธภัณฑ์คุณธรรม ภายในบอกเล่าเรื่องราวของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดอุดรธานี ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน บอกเล่าเรื่องราวธุรกิจการค้า การศึกษาศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน
จำลองเครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้าปู่-ย่า

บอกเล่าถึงความเป็นมาของเทพเจ้าปู่-ย่า ที่เป็นที่เคารพศรัทธาอย่างกว้างขวาง กิจกรรมของศาลเจ้าปู่-ย่า ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

เรื่องราวสาระน่ารู้ของประเพณีการไหว้ 8 ครั้ง ของชาวจีน

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน
โรงภาพยนต์ 3D

มีโรงภาพยนต์ 3D บอกเล่าเรื่องราวเป็นวีดีโอให้ได้นั่งชมเพลินๆ

ที่ชั้นใต้ดินมีการจัดแสดงเรื่องราวของมหานักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวจีน “ขงจื้อ” เป็นเรื่องราวชีวิตของท่าน ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

คำสอนและการเดินทางถ่ายทอดเรื่องราวออกมาในรูปแบบของภาพแกะสลักนูนต่ำ การปั้นรูปเหมือน ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน
รูปปั้นเหมือน

ข้ามิใช่ผู้รู้แต่กำเนิดหรอก หากแต่ได้ความรู้นั้นมาโดยการพากเพียร ในคำสอนของบูรพชนเท่านั้น

คำสอนของ ขงจื่อ

นอกจากนี้ยังรวบรวมคำสอนคำสำคัญของท่านมาจัดแสดงผ่านภาพประกอบคำบรรยาย

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน
คำสอนของขงจื้อ

ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีนศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีนศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

อ้อสำหรับใครที่พาคนแก่หรือคนที่ต้องนั่งวีลแชร์ไม่ต้องกังวลเรื่องเดินขึ้นลงบันไดค่ะ เข้ามีบริการ ที่นั่งแบบในภาพค่ะ เราจำไม่ได้ว่าเขาเรียกว่าอะไรศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

ร้านชา ผิงอัน

ร้านชา ผิงอันระหว่างเดินไปยังศาลปู่-ย่า จะพบร้านชา ผิงอัน ร้านขายชาจีน เพื่อบริการนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชม ได้นั่งจิบชารสหอมละไม พักผ่อนสบายๆ ชมบรรยากาศสวนจีนของศูนย์วัฒนธรรม  นอกจากชาจีนหลากหลายกลิ่นแล้วยังมีกาแฟสดและน้ำปั่นเย็นบริการอีกด้วย ซึ่งรายได้ส่วนหนึ่งจากการขายจะนำไปร่วมทำบุญกับมูลนิธิศาลเจ้าปู่-ย่า เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ และด้อยโอกาสต่อไป

ร้านชา ผิงอัน
ร้านชา ผิงอัน

ร้านชา ผิงอันร้านชา ผิงอัน

ร้านตกแต่งสวยงาม สไตล์โรงเตี๊ยมร้านชา ผิงอันร้านชา ผิงอัน

สวนแห่งศรัทธา

อยู่ระหว่างทางเดินไปศาลเจ้าปู่-ย่า สวนแห่งศรัทธาเกิดจากแนวคิดที่จะเชื่อมโยงศาลเจ้าปู่-ย่า อุดรธานี กับศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน มูลนิธิศาลเจ้าปู่-ย่า ให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มากราบไหว้องค์เจ้าปู่-เจ้าย่าและเที่ยวชม ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน

สวนแห่งศรัทธา
สวนแห่งศรัทธา

สวนแห่งศรัทธา ใช้สถาปัตยกรรมสวนจีนโบราณแห่งเมืองซูโจว มณฑลเจียงซู การตกแต่งใช้วัสดุจากจีน

สวนแห่งศรัทธาสวนแห่งศรัทธา

ศาลเจ้าปู่-ย่า

ศาลเจ้าปู่-ย่า
ศาลเจ้าปู่-ย่า

ศาลเจ้าของชาวจีนที่ใหญ่โต และสวยงาม มีสวนหย่อมริมหนองบัว บริเวณโดยรอบศาลชมวิวกลางน้ำ 2 หลัง บรรยากาศร่มรื่น และในศาลเจ้าปู่-ย่า แห่งนี้ยังเป็นที่เก็บรักษามังกรทองยาวถึง 99 เมตร ซึ่งใช้แสดงในงานทุ่งศรีเมืองในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี

 

ศาลเจ้าปู่-ย่า
ศาลเจ้าปู่-ย่า

เคล็ดลับการกราบไหว้ขอพร  นอกจากการกราบไหว้ด้วยธูป 30 ดอกแล้ว การกราบไหว้ศาลเจ้าปู่-ย่า ต้องถวายส้ม 4 ลูก พอกราบไหว้ครบทั้ง 6 จุดแล้ว ให้เดินไปที่สะพานเก้าเลี้ยวเชื่อกันว่าเป็นจุดเชื่อมต่อสวรรค์ และรับรู้ว่าขอพรอะไรไป เสร็จแล้วให้มากราบลาศาลปู่-ย่า พร้อมเอาส้มกลับมา 2 ลูก

สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งแรกที่ควรแวะมาสักการะยังศาลเจ้าแห่งนี้ ได้แก่ “ทีตีแป่บ้อ” เรียกสั้นๆว่า “ทีกง” หรือ ชื่อในภาษาไทย คือ “ศาลเทพยดาฟ้าดิน” ซึ่งเป็นการกราบไหว้สักการะสวรรค์ หรือเหล่าเทพยดาที่อยู่บนสรวงสวรรค์นั่นเอง(ตามวัดจีน หรือ ศาลเจ้าจีน จะมี “ทีตีแป่บ้อ” อยู่เสมอทุกที่)เสาทีกงศาลเจ้าปู่-ย่า

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สอง คือ “ปึงเถ่ากงม่า”หรืิอ ชื่อภาษาไทย คือ”เจ้าปู่เจ้าย่า” สร้างในกรรมการสมัยที่ 41(พ.ศ.2534) โดยภายในศาลจะมีรูปบูชา “เจ้าปู่เจ้าย่า” อยู่ภายในซึ่งลูกหลานชาวอุดรส่วนใหญ่จะมากราบไหว้เพื่อขอพรในความเป็นสิริมงคลอยู่เสมอ ในความเชื่อเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ได้ชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากขอสิ่งใดมักสมปราถนาตามที่ขออยู่เสมอ

สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่สาม คือ ศาลเจ้าพ่อหนองบัว เนื่องจากที่ตั้ง ของ ศาลเจ้าปู่ย่านั้น ตั้งอยู่ริมหนองบัวหรือในปัจจุบันมีการสร้างสวนสาธารณะหนองบัวขึ้นวึ่งก็ได้มีการอัญเชิญเจ้าพ่อหนองบัวมาสถิตย์อยู่ภายในบริเวญศาลเจ้าปู่ย่า

ตามความเชื่อตั้งแต่การก่อตั้งศาลเจ้าปู่ย่าขึ้นใหม่ๆ

สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่สี่ คือ “ตี่จู๋เอี๊ย” หรือ ชื่อภาษาไทย คือ เจ้าที่เจ้าทางซึ่งก็คือสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่คอยปกปักรักษาดูแลสถานที่นั้นๆได้แก่บริเวณศาลเจ้าปู่ย่า และ บริเวณหนองบัวนั่นเอง

สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่ห้า คือ พระสังกัจจายน์ ซึ่งได้ขุดพบใต้ต้นไทรในบริเวณศาลเจ้าปู่-ย่า เมื่อ พ.ศ.2530 (คณะกรรมการสมัยที่ 37)

สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งที่หก คือ “ฉั่งง่วนส่วย” เป็นองค์เทพที่เชี่ยวชาญในการปราชญ์เป็นอย่างยิ่ง เป็นที่นิยมสักการะของนักเรียน นักศึกษา ในการจะไปสมัครสอบครั้งสำคัญแต่ละครั้งศาลเจ้าปู่-ย่าศาลเจ้าปู่-ย่า

สำหรับใครที่ผ่านมาอุดรธานี อยากจะมาชมความสวยงามของความเป็นเมืองจีน ของที่นี่ รับรองเพลินอยู่ได้ทั้งวัน เพราะที่นี่สวยและอากาศดีมากๆ แม้จะเป็นตอนกลางวันก็ตาม

 

sunday.morning